วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

7 ความเข้าใจผิดที่แม้แต่หมอยังเชื่อ !!

จริงหรือเมื่อตายไปแล้วเล็บและผมยังยาวได้ รวมถึงคำแนะนำของแพทย์อย่าง ดื่มน้ำวันละ 8 แก้วแล้วจะดี อ่านหนังสือในที่แสงสลัวไม่ดีต่อสายตา รวมทั้งเราใช้สมองแค่ 10% เองเท่านั้นหรือ เหล่านี้งานวิจัยใหม่บอกว่าเป็น “มายาคติ” ที่แม้แต่คุณหมอเองก็ยังเชื่อ !!

ดร.อารอน แคร์รอล (Dr. Aaron Carroll) และ ดร.ราเชล ฟรีแมน (Dr.Rachel Vreeman) 2 กุมารแพทย์ จากวิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินเดียนา (Indiana University School of Medicine) สหรัฐอเมริกา เปิดเผยผลการวิเคราะห์ข้อปฏิบัติและความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ จนออกมาเป็นรายงาน “มายาคติทางการแพทย์” ผ่านวารสารบริติชเมดิคัลเจอร์นัล (British Medical Journal) ฉบับล่าสุด โดยแจกแจงออกมาเป็น 7 ข้อคือ

1.มนุษย์ใช้สมองแค่ 10% เท่านั้น

ช่วงต้นคริสต์ศตวรรษ 1900 เชื่อกันว่าสมองของคนเราทำงานเพียงแค่ 10% ซึ่งอาจเป็นเรื่องที่ใครคนหนึ่งกุขึ้น เพื่อที่จะต้องการครอบงำกลุ่มคนหมู่มาก กระทั่งวิทยาการก้าวหน้า นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาสมองจากภาพสแกน ก็ไม่พบว่ามีสมองส่วนไหนที่อยู่นิ่งเฉย หรือว่ามีเซลล์สมองในบริเวณไหนไม่มีปฏิกิริยาใดๆ และจากการศึกษากระบวนการทางเคมีของเซลล์สมองบ่งชี้ว่าไม่มีสมองบริเวณไหนที่ ไม่ทำงาน และจากการศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับความกระทบกระเทือนที่สมองยังบ่งชี้ว่าสมอง ที่ถูกทำลายเกือบทั้งหมดนั้นจะมีบริเวณจำเพาะที่เมื่อถูกทำลายแล้วจะมีผลต่อ การสมรรถภาพร่างกาย

2.ควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว

"ไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันว่าคนเราต้องการน้ำมากมายขนาดนั้น" ดร.ฟรีแมนระบุ ซึ่งเธอคาดว่าความเชื่อนี้มีที่มาจากสภาโภชนาการของสหรัฐฯ เมื่อปี 2548 ที่แนะนำให้ประชาชนบริโภคของเหลววันละ 8 แก้ว แต่ในปีต่อๆ มาหลังจากนั้น คำว่า "ของเหลว" จำกัดอยู่เฉพาะแค่ "น้ำเปล่า" ไม่ได้หมายรวมถึงน้ำผัก ผลไม้ กาแฟ หรือว่าของเหลวอื่นๆ เข้าไปด้วย

อีกหนึ่งต้นตอของความเชื่อนี้น่าจะมาจากเฟรเดอริค สแทร์ (Frederick Stare) โภชนากรที่แนะนำให้ดื่มเครื่องดื่มวันละ 6-8 แก้ว ซึ่งครอบคลุมทั้งน้ำเปล่า ชา กาแฟ นม เบียร์ และซอฟดิงก์อื่นๆ ต่อมาการแนะนำที่ปราศจากข้อมูลอ้างอิงของสแทร์ถูกหักล้างด้วยข้อมูลของไฮนซ์ วาลติน (Heinz Valtin) ที่รายงานไว้ในวารสารอเมริกันเจอร์นัลออฟฟิสิโอโลจี (American Journal of Physiology) ที่ว่าการบริโภคนม น้ำผลไม้ หรือเครื่องดื่มอื่นๆ เป็นประจำในแต่ละวันเท่านี้ร่างกายก็ได้รับของเหลวเพียงพอต่อความต้องการ แล้ว ในทางตรงกันข้าม การดื่มน้ำมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายเมื่อเกิดภาวะสารน้ำในร่างกาย มากผิดปกติจนเกิดเป็นพิษ หรือที่เรียกว่า "น้ำเป็นพิษ" (water intoxication)

3.ตายไปแล้วแต่เล็บและเส้นผมยังคงงอก

ผู้แต่งหนังสือเรื่อง "แนวรบด้านตะวันตก เหตุการณ์ไม่เปลี่ยนแปลง" (All Quiet On The Western Front) บรรยายไว้ว่าเล็บของเพื่อนคนหนึ่งยาวขึ้นหลังจากพิธีฝังศพผ่านไปแล้ว ส่วนจอห์นนี คาร์สัน (Johnny Carson) นำความเชื่อนี้มาเขียนเป็นเรื่องขำขันจนกลายเป็นความเชื่ออมตะว่า หลังจากตายไปแล้ว 3 วัน ผมและเล็บของเราจะงอกใหม่

แพทย์ส่วนใหญ่คิดว่านี่เป็นเรื่องจริงในตอนแรก แต่เมื่อพิจารณาให้ถี่ถ้วนจะเห็นว่า ที่จริงแล้วขณะที่ศพกำลังแห้งลง เนื้อเยื่อส่วนที่นุ่มอย่างผิวหนังก็จะหดตัว ทำให้เผยชิ้นส่วนของเล็บมากขึ้น ทำให้ดูว่ายาวออกมา เช่นเดียวกันเส้นผม ซึ่งจะสังเกตเห็นผิวหนังหดตัวได้น้อยกว่า อย่างไรก็ดีฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้ผมและเล็บยาวนั้นไม่มีทางทำงาน หลังจากเจ้าของร่างสิ้นใจไปแล้วเป็นแน่

4.ผมหรือขนงอกเร็วกว่าเก่าเมื่อโกน แถมหยาบและสีเข้มขึ้นด้วย

ปี 2471 นักวิทยาศาสตร์ทดลองโกนผมแล้วเปรียบเทียบผมที่งอกใหม่กับผมที่ไม่ได้โกน ผลปรากฏว่าผมที่งอกขึ้นมาแทนผมที่ถูกโกนไปก่อนหน้านั้นไม่ได้มีสีเข้มหรือ เส้นหนา หรืองอกเร็วไปกว่าผมปกติเลย การทดลองครั้งหลังๆ ก็ให้ผลเช่นเดียวกัน ที่จริงแล้วเมื่อผมถูกโกนและงอกใหม่เป็นครั้งแรก จะยังเป็นเส้นผมทื่อๆ ตรงส่วนปลาย แต่เมื่อผ่านไปนานวันเข้า ปลายผมที่เคยแข็งทื่อก็จะค่อยๆ เสื่อมสภาพและอ่อนนุ่มขึ้น ส่วนที่มองเห็นเป็นสีเข้มกว่าปกติ เนื่องจากว่าในตอนแรกผมเส้นนั้นยังไม่ถูกแดดเผาทำลายให้สีซีดจางลง

5.อ่านหนังสือในที่แสงน้อยทำให้สายตาเสีย

เรื่องนี้เป็นที่เชื่อถือกันอย่างแพร่หลาย และผู้ใหญ่ก็มักจะห้ามไม่ให้เด็กๆ อ่านหนังสือในที่มืดหรือที่ที่มีแสงน้อย มิฉะนั้นแล้วจะสายตาสั้นและต้องสวมแว่น เป็นต้น ความเชื่อนี้น่าจะมาจากจักษุแพทย์ที่บอกว่าหากใช้สายตาในที่แสงสว่างน้อย กว่าปกติจะมีผลต่อการรับภาพของประสาทตา ทำให้อัตราการกระพริบตาลดลง ตาแห้งและระคายเคือง

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันนักวิจัยและแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านดวงตายังไม่พบหลักฐานชี้ชัดว่าการ อ่านหนังสือในที่มืดจะทำลายสุขภาพตาอย่างถาวร แต่สามารถทำให้ดวงตาย่ำแย่และการมองเห็นด้อยลงเป็นเวลาชั่วครั้งชั่วคราวได้

6. รับประทานไก่งวงทำให้ง่วงนอน

เดิมทีแพทย์และนักวิจัยต่างก็เชื่อว่าหากรับประทานไก่งวงแล้วจะ รู้สึกง่วงนอน แต่พบว่าสารทริปโตแฟน (tryptophan) ในไก่งวงนั่นเองที่เป็นสาเหตุให้ผู้ที่รับประทานไก่งวงรู้สึกง่วงเหงาหาวนอน ทว่าในไก่งวงไม่ได้มีทริปโตแฟนมากไปกว่าไก่ทั่วไปหรือเนื้อวัวเลย มีเท่าๆ กันประมาณ 350 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 115 กรัม ขณะที่แหล่งโปรตีนอื่นๆ อย่างเนื้อหมูหรือชีสมีทริปโตแฟนมากกว่าไก่งวงเสียอีกเมื่อเทียบเป็นน้ำหนัก เพียงแต่ว่าผู้คนนิยมบริโภคไก่งวงกันมากเป็นพิเศษในช่วงวันหยุด และยังดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ร่วมด้วย เหตุนี้จึงทำให้รู้สึกง่วงและหลับง่ายกว่าปกติ

นอกจากนี้แพทย์ยังนำกลไกในร่างกายมาอธิบายได้ว่าอาการง่วงนอนมักเกิด ขึ้นหลังจากรับประทานอาหารอิ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออาหารมื้อนั้นเป็นเนื้อสัตว์เสียส่วนใหญ่ หรือมีโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตมาก จะกระตุ้นให้รู้สึกง่วงนอนมากเป็นพิเศษ เนื่องจากว่าเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงสมองได้ลดลง

7. ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ในโรงพยาบาล เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย

ที่ผ่านมายังไม่เคยมีผู้ป่วยในโรงพยาบาลเสียชีวิตเนื่องมาจาก โทรศัพท์เคลื่อนที่ แต่พบว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่รบกวนการทำงานของอุปกรณ์การแพทย์บางอย่างเพียง เล็กน้อยเท่านั้น เช่น เครื่องควบคุมการให้สารละลายในผู้ป่วย (infusion pump), เครื่องเฝ้าติดตามการทำงานของระบบหัวใจ (cardiac monitor)

ทว่าขณะที่ยังไม่มีรายงานใดๆ ยืนยันถึงอันตรายของการใช้โทรศัพท์มือในโรงพยาบาล ในปี 2545 มีการเผยแพร่เรื่องที่มีการใช้โทรศัพท์มือถือในสถานพยาบาลแห่งหนึ่งแล้ว ปรากฏว่าเครื่องควบคุมการให้สารอะดรีนาลีน (adrenaline) ทำงานผิดปกติ หลังจากนั้นวอลล์สตรีทเจอร์นัล (Wall Street Journal) ก็นำก็รายงานมากว่า 100 รายงานที่ระบุว่าโทรศัพท์เคลื่อนที่รบกวนการทำงานของอุปกรณ์แพทย์ในช่วงก่อน ปี 2536 ทำให้โรงพยาบาลต่างๆ ไม่อนุญาตให้ใช้โทรศัพท์มือถือในโรงพยาบาล

เมื่อไม่นานมานี้มีการศึกษาวิจัยถึงเรื่องดังกล่าวในประเทศอังกฤษ พบว่าโทรศัพท์มือถือรบกวนการทำงานของอุปกรณ์แพทย์เพียง 4% เท่านั้น และต้องอยู่ห่างจากอุปกรณ์นั้นภายในระยะไม่เกิน 1 เมตร และจากการทดสอบการใช้โทรศัพท์มือถือ 300 ครั้งในห้องพักพื้น 75 ห้อง ไม่พบสิ่งใดผิดปกติเลย ในทางตรงกันข้ามพบว่าแพทย์ที่ใช้โทรศัพท์เคลื่อนสามารถสื่อสารได้ชัดเจน และลดความผิดพลาดได้มากยิ่งขึ้น

เมื่อ พวกเราเอ่ยเรื่องนี้ขึ้นมาในตอนแรก แพทย์ส่วนใหญ่จะยังไม่เชื่อว่านี่เป็นเรื่องจริง กระทั่งพวกเขาได้ศึกษาหลักฐานต่างๆ อย่างละเอียดแล้ว เขาจึงยอมรับกันว่าที่พวกเขายึดถือมานั้นมันไม่ได้ถูกต้องไปทั้งหมด” ดร.ฟรีแมนกล่าว

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


christmas-free
bachelorette-party
free-arcade
atari-online
celebrity-dress-up
free-baby-shower
games-to-play-for-couples
online-fighting
full-free-game-downloads
free-batman-online

"รูบิก" ลูกบาศก์ที่เป็นมากกว่าลูกบิด







โจทย์ง่ายๆ แค่เรียงสีแต่ละหน้าให้ได้สีเดียวกัน บางคนอาจใช้เวลาร่วมเดือน ขณะที่บางคนสามารถคืนสภาพเดิมให้กับลูกบาศก์ "รูบิก" ได้ในเวลาเพียงไม่กี่วินาที แต่ก็มีบางคนที่ทิ้งความยุ่งเหยิงค้างปีโดยไม่หันกลับไปเหลียวแลอีกเลย ความท้าทายที่จะสลับสีให้กลับไปเรียบร้อยเหมือนเดิมนี้เองได้ทำให้เด็กตลอด จนผู้ใหญ่ทั่วโลกหลงรักในของเล่นฝึกสมองนี้มากว่า 30 ปีแล้ว สำหรับคนไทยก็มีคนกลุ่มหนึ่งซึ่งหลงใหลในลูกบิดนี้ไม่ต่างกัน

เมื่อ 25 ปีที่แล้ว ชัชวาลย์ จารุวัฒนกุลซึ่งขณะนั้นเป็นเด็กชายวัยกว่า 10 ขวบที่อาศัยอยู่ในจังหวัดลำปางได้รู้จักกับลูกบาศก์รูบิก (Rubik's Cube) ผ่านรายการโทรทัศน์และเรียนรู้สูตรที่จะแก้เกมลูกบาศก์ได้ภายใน 3-5 นาที แม้ของเล่นที่เขาเคยหลงใหลได้เลือนหายไปกับกาลเวลาของการเติบโดเป็นผู้ใหญ่ แต่ล่าสุดเขากลายเป็นเว็บมาสเตอร์ของเว็บไซต์ thailandcube อันเป็นแหล่งชุมนุมของผู้เล่นรูบิกที่มีกิจกรรมหลากหลาย ทั้งการเผยเคล็ดลับวิธีเล่น เทคนิคพิชิตเกมให้เร็ว การรวมกลุ่มกันเพื่อล่ารางวัลในเวทีแข่งขันต่างๆ ตลอดจนเป็นศูนย์กลางซื้อ-ขายรูบิกที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งหลังการเปิดตัวเว็บไซต์ได้เพียงครึ่งปีกลุ่มผู้หลงรักรูบิกก็เติบโตขึ้น เรื่อยๆ

การแข่งขัน "รูบิก อพวช." ที่จัดขึ้นโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ภายในงาน "ถนนสายวิทยาศาสตร์ 2551" ของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเมื่อปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมานับเป็นเวทีการแข่งขันรูบิกระดับประเทศที่จัดขึ้นโดยหน่วยงาน รัฐเป็นครั้งแรก ซึ่งการแข่งขันจะเฟ้นหาผู้สามารถแก้เกมรูบิกได้รวดเร็วที่สุด และภายในงานนี้ลูกชายหัวแก้ววัย 7 ขวบของชัชวาลย์ก็คว้าชัยในระดับประถมศึกษา ส่วนผู้เป็นแชมป์ของระดับมัธยมและประชาชนทั่วไปก็มาจากสมาชิกของเว็บไซต์ นั่นเอง

ทั้งนี้เมื่อครั้งทำงานเป็นโปรแกรมเมอร์ในเมืองหลวงชัชวาลย์ได้ รู้จักลูกบิดคล้ายๆ รูบิกที่เขารู้จัก จนกระทั่งกลับไปเปิดกิจการส่วนตัวที่บ้านเกิดและได้เห็นของเล่นในวัยเด็กวาง ขายตามตลาดนัดเขาก็อยากจะรื้อฟื้นความหลังอีกครั้งจึงซื้อมาเล่น แล้วเริ่มสนใจในการเล่นรูบิกแบบ "สปีด" (Speedcubing) คือแก้รูบิกให้เร็วที่สุดนั้นเมื่อได้รู้จักกับเพื่อนที่บราซิล จากนั้นเขาจึงได้ศึกษาข้อมูลวิธีการเล่นผ่านทางอินเทอร์เน็ตอย่างจริงจัง เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา แล้วเปิดตัวเว็บไซต์ดังกล่าวโดยความช่วยเหลือของเพื่อนรุ่นน้องที่เปิดบล็อก (Blog) สอนการเล่นอย่างไม่เป็นทางการ โดยสมาชิกจะรวมตัวกันทุก 1-2 เดือนหรือตามสนามแข่งขัน

" ช่วงนี้คนนิยมรูบิกมากขึ้น คิดว่าอีก 4-5 เดือนจะมีความนิยมมากกว่านี้ การเล่นรูบิกช่วยพัฒนาสมองทั้ง 2 ด้านจากการใช้ทั้งมือและสายตามอง พร้อมการวางแผนล่วงหน้าซึ่งเป็นการคิดต่อแบบไม่สิ้นสุด" ชัชวาลย์กล่าว พร้อมเผยว่าทางเว็บไซต์ได้จัดการแข่งขันขึ้นภายในกลุ่มสมาชิกเพื่อซักซ้อม สำหรับการแข่งขันในเวทีใหญ่ที่เริ่มมีการจัดแข่งขันมากขึ้น ซึ่งอนาคตเขาตั้งใจจะนำเว็บไซต์เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมรูบิกระดับโลก โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาแข่งขันให้ได้มาตรฐานสากล ทั้งนี้มีการแข่งขันระดับโลกทุกๆ 2 ปี โดยแข่งมาแล้ว 4 ครั้งซึ่งล่าสุดจัดขึ้นที่ฮังการีเมื่อ ส.ค.ปีที่ผ่านมา ส่วนการแข่งขันครั้งต่อไปยังไม่กำหนดประเทศเจ้าภาพ

เจ้าลูกบาศก์หกหน้าบิดได้นี้เกิดจากความคิดของเออร์โน รูบิก (Erno Rubik) ประติมากรและอาจารย์สถาปัตย์ของสถาบันประยุกต์ศิลป์และหัตถกรรม (Academy of Applied Arts and Crafts) ในกรุงบูดาเปสต์ ฮังการี ซึ่งปัจจุบันมีอายุร่วม 63 ปีแล้ว เขาเป็นผู้ลุ่มหลงในรูปทรงเรขาคณิต รูปทรงสามมิติ โครงสร้างและความเป็นไปได้ที่ซ่อนอยู่ในการผสมของรูปทรงและวัสดุทั้งในทฤษฎี และการปฏิบัติ โดยเขาได้สร้างต้นแบบเมื่อปี 2517 และปีถัดมาได้จดสิทธิบัตรผลงานในบ้านเกิดด้วยชื่อว่า "เมจิกคิวบ์" (Magic Cube) หากเป็นที่รู้จักในชื่อเดียวกับผู้ประดิษฐ์ เมื่อบริษัทไอเดียลทอยส์ (Ideal Toys) ผู้จัดจำหน่ายของเล่นชิ้นนี้เปลี่ยนชื่อลูกบาศก์ใหม่ว่า "ลูกบาศก์รูบิก" (Rubik's Cube) และส่งจำหน่ายออกนอกฮังการี

เรา อาจจะคุ้นเคยกับรูบิกราคา 20-30 บาทที่แบขายตามพื้นข้างริมบาทวิถี สะพานลอยหรือตลาดนัดทั่วไป แต่หลายคนคงไม่ทราบว่ายังมีรูบิกอีกหลายเกรดและราคาก็อยุ่ที่หลักร้อยถึง หลักพัน ซึ่งเรื่องนี้พิษณุ มุกดาประกร ทีมงานเว็บไซต์เดียวกับชัชวาลย์ระบุว่ามีหลายบริษัทที่ผลิตรูบิก ทั้งนี้หากซื้อจากสหรัฐฯ จะเป็นของที่ได้รับลิขสิทธิ์ถูกต้องจากรูบิก สำหรับเมืองไทยมีตัวแทนจำหน่ายคือบริษัท Toy r Us อย่างไรก็ดียังมีรูบิกที่ใช้งานได้เหมือนกันแต่มีองค์ประกอบของลูกบาศก์ที่ แตกต่างไปเล็กน้อย

รูบิกที่วางขายตามแผงรอยมีด้านสีทำจากพลาสติกซึ่งบางครั้งอาจทำให้ มือผู้เล่นบาดเจ็บได้ ขณะที่รูบิกที่บรรดาเซียนนิยมใช้จะแปะสีด้วยแผ่นสติ๊กเกอร์ที่สามารถนำแผ่น ใหม่มาแปะติดได้ อีกทั้งยังไม่ฝืดซึ่งช่วยให้ผู้เล่นทำเวลาได้ดีขึ้น โดยพิษณุเผยว่าเขาเริ่มเล่นรูบิกจากที่มีขายอยู่ทั่วไป แต่เมื่อเล่นไปถึงจุดหนึ่งเขาไม่สามารถทำเวลาได้ดีกว่า 50 วินาที จึงได้สั่งซื้อรูบิกจากสหรัฐฯ ซึ่งราคาประมาณ 500 บาท นอกจากนี้ยังรูบิกยี่ห้อ DIY ที่ผู้เล่นต้องประกอบขึ้นเองจากส่วนประกอบทั้งหมด 27 ชิ้น ซึ่งได้รับความนิยมในหมู่เซียนจำนวนหนึ่ง

ในการแข่งขันระดับโลกนั้น กิตติกร ตั้งสุจริตธรรม นักเรียนชั้น ม.5 โรงเรียนหอวัง และแชมป์รูบิกหลายสนามและเป็นแชมป์ระดับระดับมัธยมของการแข่งขันรูบิกในถนน สายวิทยาศาสตร์เผยว่า การ แข่งขันระดับโลกจะให้ผู้เล่นมีโอกาสแก้รูบิกทั้งหมด 5 ครั้งต่อหน้ากรรมการโดยที่ไม่ต้องแข่งพร้อมกันกับผู้เล่นคนอื่น จากนั้นจะตัดเวลาดีที่สุดและแย่ที่สุดแล้วนำเวลาที่เหลือมาเฉลี่ย ซึ่งการแข่งขันแบบนี้ทำให้ตื่นเต้นน้อยกว่าการแข่งขันพร้อมกับผู้เข้าแข่ง ขันคนอื่นๆ

อย่างไรก็ดียังมีการแข่งขันรูบิกอีกประเภทที่ไม่เน้นความเร็วแต่เน้น แข่งจำนวนครั้งในการบิดให้น้อยที่สุดเพื่อให้รูบิกกลับสู่สภาพเดิม ทั้งนี้ผู้เขาแข่งขันมีเวลา 1 ชั่วโมงที่จะแก้รูบิก แล้วเขียนวิธีการหมุนลงกระดาษเพื่อส่งให้กรรมการตรวจ โดยมีรูบิกให้ทดลองแก้ 3 ลูก ซึ่งตามทฤษฎีสามารถหมุนได้ต่ำสุด 24 ครั้ง แต่เท่าที่ผ่านมามีคนทำได้น้อยสุด 26 ครั้ง การแข่งขันรูปแบบนี้กิตติกรกล่าวว่าค่อนข้างยากเพราะบางครั้งแม้เขาจะสามารถ แก้รูบิกได้แต่ก็ไม่สามารถบอกได้ว่าต้องหมุนอย่างไร

สำหรับเทคนิคการแก้ปัญหารูบิกนั้น ชลเทพ กิจสินธพชัย นักศึกษาภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และแชมป์การแข่งขันรูบิกระดับประชาชนในงานถนนสายวิทยาศาสตร์ กล่าวว่าการแก้ปัญหาด้วยการทำหน้าสีขาวให้เป็นรูปกากบาทเครื่องหมายแล้ว พยายามแก้ทีละชั้น โดยชั้นที่ 1 และ 2 นั้นสามารถใช้ความเข้าใจแก้ได้ และเมื่อถึงชั้นที่ 3 ซึ่งต้องทำให้หน้าสีเหลืองเต็มก่อนแก้ให้จบลูกนั้นต้องใช้สูตรที่เรียกว่า OLL (Orient Last Layer) ซึ่งฝั่งยุโรปนิยมเล่นลักษณะนี้คือให้ขาวอยู่ด้านล่างและสีเหลืองอยู่บน ขณะที่ทางญี่ปุ่นจะต่างออกไปคือให้สีน้ำเงินอยู่ข้างล่างและให้สีขาวอยู่ ข้างบน

ชลเทพกล่าวว่าระบบแก้รูบิกมีด้วยกันหลายระบบแต่ที่นิยมแพร่หลายในการแข่งขันเนื่องจากเล่นได้ง่ายคือระบบ CFOP ของยุโรปซึ่งย่อมาจาก C-Cross, F-Fist 2 Layer, O- OLL (Orient Last Layer), และ P-PLL (Permute Last Layer) ส่วนระบบที่เร็วที่สุดในขณะนี้ระบบ ZB แต่ใช้งานจริงได้ยากเนื่องจากมีสูตรจำค่อนข้างเยอะคือประมาณ 700 สูตร โดยแต่ละสูตรนั้นจะฝึกนิ้วมือไม่เหมือนกัน ทั้งนี้การคิดสูตรอาศัยทฤษฎีทางคณิตศาสตร์คือทฤษฎีกลุ่ม (Group Theory) ซึ่งส่วนใหญ่ใช้คอมพิวเตอร์คำนวณแล้วเลือกสูตรมาใช้ พร้อมกันนี้เขาเผยอีกว่ากำลังนำสูตรแก้รูบิกที่ไม่มีใครใช้มาฝึก

"ถาม ว่าการเล่นรูบิกมีส่วนช่วยอะไรในการเรียนของผมบ้าง การเรียนนั้นต้องใช้จินตนาการเยอะ ซึ่งการเล่นรูบิกช่วยสร้างจินตนาการของภาพ 3 มิติได้ และต้องฝึกจำสูตรต่างๆ ทั้งยังมีเรื่องของจังหวะเข้ามาเกี่ยวข้อง บางคนฝึกเล่นตามจังหวะเพลง ไม่ใช่เพียงแค่เล่นให้เร็วแต่ต้องเล่นให้เข้าจังหวะ ไม่ติดขัด ซึ่งการเล่นรูบิกต้องมีทั้งความจำและความเข้าใจ" ชลเทพกล่าว

ทั้งนี้ของเล่นทุกชนิดล้วนช่วยพัฒนาความคิดของผู้เล่นไม่ว่าทางใดก็ ทางหนึ่ง และสำหรับรูบิกก็เป็นของเล่นอีกชิ้นที่ฝึกกระบวนการคิดของผู้เล่น ซึ่งเบื้องหลังความท้าทายจากการจัดเรียงหน้าอันยุ่งเหยิงให้กลับคืนสู่ความ มีระเบียบนั้นล้วนมีหลักการที่ซ่อนอยู่ จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใดที่รูบิกจะกลายเป็นอุปกรณ์สำหรับการ เรียนการสอนคณิตศาสตร์ หรือแม้กระทั่งเป็นแรงบันดาลให้เยาวชนหันมาสนใจวิทยาศาสตร์

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


free-psp-downloads
free-yahoo
free-online-spiderman
classic-atari
free-romantic
fun-dress-up-game
fun-party
free-mahjong
walkthroughs-for-all-pc
online-christmas

"พาย" p อัศจรรย์แห่งการค้นหาจตุรัสวงกลมร่วม 3,500 ปี



บีบีซีนิวส์-หากเปรียบเทียบการเป็นที่รู้จัก ระหว่าง "วันที่ 14 ก.พ." กับ "วันที่ 14 มี.ค." แล้ว วันแรกนับว่ามีภาษีดีกว่าเยอะเพราะเป็น "วันวาเลนไทน์" ที่มีคู่รักทั่วทุกมุมโลกพร้อมเฉลิมฉลองให้กับวันแสนหวานดังกล่าว หากแต่วันถัดไปในอีกเดือนก็มีความสำคัญยิ่งต่อนักคณิตศาสตร์ และผู้ที่สนใจในสัญลักษณ์ p เพราะวันดังกล่าวคือ "พายเดย์"

นอกจากวันที่ 14 มี.ค.จะเป็นวันคล้ายวันเกิดของ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" (Albert Einstein) นักวิทยาศาสตร์ที่เป็นไอคอนของวงการแล้ว ยังถือ เป็น "วันพาย" (Pi Day) ที่มีการเฉลิมฉลองอัตราส่วนทางคณิตศาสตร์ ที่คนเราพยายามหาจุดสิ้นสุดทศนิยมของอัตราส่วนนี้ ซึ่งได้จากการหารความยาวของเส้นรอบวงกลมกับเส้นผ่านศูนย์กลาง โดย ประมาณการคร่าวๆ ได้ค่าพายคือ 3.14 ดังนั้นจึงเป็นที่มาของอีกวันนี้ตามรูปแบบการเขียนวันของอเมริกันที่นับ เดือนขึ้นก่อนวัน ซึ่ง 3.14 ก็หมายถึงเดือน 3 วันที่ 14 นั่นเอง

จริงๆ แล้วค่าพายมีจำนวนที่มากมายกว่านั้น อย่าง น้อยเราคงมีความอดทนพอที่ท่องค่าประมาณของพายได้ถึง 3.14159265 และยังมีทศนิยมต่อจากนั้นอีกมากซึ่งคาดว่าตำแหน่งสุดท้ายของพาย น่าจะสิ้นสุดในตำแหน่งที่ประมาณล้านล้านหลัก ทั้งนี้พายเป็นอักษรกรีกลำดับที่ 16 อันเป็นค่าคงที่ทางคณิตศาสตร์ที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง และแม้หลายคนจะลืมบทเรียนเกี่ยวกับค่าพายไปแล้วแต่ก็ยังคงจดจำสัญลักษณ์ได้

ปกติ ในการฉลองวันพายนั้น นักเรียน คุณครูและผู้คนที่มีความสนใจในหลากหลายสาขาความรู้จะเรียนรู้เกี่ยวกับ เรื่องพายและวงกลมในวันนี้ อีกทั้งหากโชคดีเขาเหล่านั้นก็จะได้กินพายหลายๆ ชนิดด้วย บางแห่งตั้งรางวัลสำหรับผู้ที่ท่องตำแหน่งค่าพายได้มากที่สุดหรือบางครั้งก็ให้รางวัลแก่ผู้ประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยจำที่น่าสนใจ

แม้ว่าพายจะเป็นตัวเลขหนึ่ง แต่ความสำคัญของจำนวนนี้ก้าวไกลไปกว่าการเป็นเพียงเรขาคณิตธรรมดาๆ พายเป็นตัวแทนของความลึกลับในเอกภพ เป็นพื้นฐานของคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หาก แต่สิ่งพื้นๆ นี้ก็กลายเป็นสิ่งที่ยากจะทำให้จบลงได้ง่ายๆ และเป็นเรื่องสำคัญยิ่งที่จะต้องรู้ว่าค่าพายคือเท่าไหร่เพราะจำนวนทศนิยม ของมันได้ไหลไปสู่อนันต์

ขณะที่มีจำนวนมากมายในทางคณิตศาสตร์ที่มีค่าเป็นอนันต์ แต่พายกลับเป็นค่าเพียงหนึ่งเดียวที่เป็นตัวอย่างอุดมคติในความไม่สิ้นสุด ความเรียบง่ายของวงกลมที่มีความยาวแน่นอนถูกคลี่ออกมาสู่ค่าเชิงซ้อนที่ไม่ สิ้นสุด ความขัดแย้งดังกล่าวกลายเป็นแรงขับให้ผู้คนมากมายสนใจในตัวเลขนี้

ทั้งนี้ความหลงใหลและอดทนมนุษยชาติได้พยายามมาเป็นเวลาร่วม 3,500 ปีแล้ว ที่จะไขปริศนาของพายซึ่งถูกเรียกว่าเป็น "จตุรัสแห่งวงกลม" (squaring the circle) ด้วยการหาอัตราส่วนที่แท้จริงของเส้นรอบวงกับเส้นผ่านศูนย์กลางวงกลม แต่ไม่ว่าผู้คนจะพยายามมากแค่ไหนสิ่งที่พวกเขาหาได้ก็เป็นเพียงแค่ค่าประมาณ ตัวใหม่เท่านั้นเอง

อาร์คิมิดิส (Archimedes) นักคณิตศาสตร์ชาวกรีกผู้ยิ่งใหญ่ได้พยายามอย่างไม่รู้สึกเหน็ดเหนื่อย ที่จะค้นหาอัตราส่วนที่แท้จริงของวงกลม แต่เขาก็ได้พบเพียงจำนวนไม่กี่ตัวที่ถูกต้อง เมื่อเขาพยายามจะหยุดทหารโรมันที่กำลังจะสร้างความเสียหายต่องานดังกล่าวของ เขา ด้วยการตะโกนว่า "อย่าแตะต้องวงกลมของข้า" แต่เขากลับโดนถูกสังหารโดยไม่รีรอ

ทางด้านลูดอล์ฟ ฟาน คอยเลน (Ludolph van Ceulen) นักคณิตศาสตร์เชื้อสายเยอรมันซึ่งเสียชีวิตเมื่อปี 2153 ก็ใช้เวลาหลายปีในชีวิตเพื่อคำนวณหาค่าพายอย่างน่าเบื่อหน่าย และได้ผลออกมาเป็นค่าพายที่แม่นยำเพียง 35 ตำแหน่งเท่านั้น ส่วนวิลเลียม แชงก์ส (William Shanks) ที่ประกาศในปี 2416 ว่าพบค่าพาย 707 ตำแหน่งจากการคำนวณด้วยมือ แต่ปรากฏว่าหลังตำแหน่งที่ 527 เป็นต้นไปเป็นตัวเลขที่ผิดทั้งหมด

ความ พยายามล่าสุดของนักวิทยาศาสตร์ด้านคอมพิวเตอร์ชาวญี่ปุ่นเมื่อปี 2545 พบจำนวนของพาย 1.24 ล้านล้านตำแหน่ง แม้ว่านักดาราศาสตร์ฟิสิกส์จะไม่ต้องการตัวเลขที่แม่นยำมากไปกว่า 10-15 ตำแหน่ง แต่นักคณิตศาสตร์เชื่อว่าหากสามารถหารูปแบบของพายได้ก็จะนำไปสู่การค้นพบที่ ยิ่งใหญ่ในความเข้าใจเกี่ยวกับเอกภพของเราได้

นักฟิสิกส์อย่างคาร์ล ซาแกน (Carl Sagan) ซึ่งแต่งนิยายเรื่อง "คอนแทค" (Contact) ก็จินตนาการถึงเวลาที่นักวิทยาศาสตร์บนโลกสามารถแก้ค่าพาย เพื่อค้นสารที่ซ่อนอยู่ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวกระโดดสู่การรับรู้ในเอกภพที่ยิ่งใหญ่ ทั้งนี้หากจะซ่อนสารที่เป็นตัวเลขอันยาวเฟื้อยสักตัวลงในโครงสร้างความเป็นจริงของเราแล้วก็ดูเหมาะสมที่จะเป็น "พาย"

กระนั้นดูเหมือนพายก็ยังคงทำให้เราไม่สมหวังเสียที ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 พายได้รับการพิสูจน์ว่ามีความยาวไม่สิ้นสุด และไม่สามารถแก้ได้ด้วยจำนวนจำกัด (finite number) ของสมการ

แต่เรื่องดังกล่าวก็ไม่หยุดผู้พยายามค้นหาค่าพายในยุคนี้ ซึ่งอ้างว่านักคณิตศาสตร์ได้ทำผิดพลาด และแท้จริงแล้วพายมีค่าเพียง 3 หรือ 3.25 หรือจำนวนจำกัดอื่นแต่เป็นคำตอบที่ผิด

สำหรับวันพายนั้นไม่ใช่เพียงเป็นเพียงการสรรเสริญจำนวนหรือความ หลงใหลในจำนวนทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่ยังเป็นการให้เกียรติแก่ความจริงพื้นฐานที่เราไม่สามารถรู้ได้ ทำได้เพียงเข้าใกล้ที่จะรู้เท่านั้น

พายแสดงตัวอยู่ในทุกแห่ง ทางคณิตศาสตร์พายปรากฏตัวในสมการพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับวงกลม ในทางวิทยาศาสตร์พายคือสิ่งที่แยกไม่ออกจากการคำนวณในทุกสิ่งตั้งแต่คลื่น มหาสมุทรไปจนถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เรายังพบพายในในการวัดมหาปิรามิดกิซา (Giza) อันยิ่งใหญ่ และถ้าหากเราหารความยาวของแม่น้ำตั้งแต่ต้นกำเนิดจนถึงปากแม่น้ำด้วยระนาบความเอียงของแม่น้ำเราก็จะพบพาย

แม้แต่ในแหล่งที่ไม่คาดคิดว่าจะมีค่าพายปรากฏอยู่ก็ยังมี ผู้มีความรู้ด้านศาสนาระบุพระคัมภีร์ศาสนาคริสต์นั้นแสดงเป็นนัยว่าพายมีค่าเท่ากับ 3 จากการวัดวิหารโซโลมอน (Solomon's Temple) หรือนักเขียนเจ้าของรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมอย่าง วิสลาวา ซิมบอร์สกา (Wislava Szymborska) ก็เขียนบทกวีเกี่ยวกับพาย แม้แต่นักร้องเพลงป็อปอย่าง เคท บุช (Kate Bush) ก็มีเพลงชื่อ "พาย" ที่เธอขับร้องค่าพายถึง 100 ตำแหน่งในอัลบัม "แอเรียล" (Aerial)

มาถึงในยุคที่เต็มไปด้วยเครื่องมือไฮเทคที่มีความแม่นยำสูง ซึ่งเราอาจอนุมานเอาเองว่าได้บรรลุถึงความสมบูรณ์แล้ว แต่พายก็ยังคงอยู่ บางครั้งอาจเพื่อเตือนใจว่ามีทั้งปริศนาที่สามารถที่ไขได้และก็มีความลึกลับ ที่บางครั้งอาจจะไขไม่ได้.

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


nintendo-wii-list
free-full-not-demos
free-online-hidden-object
free-romantic-couples
online-rpg
action
the-disney-channel
online-math
online-for-girls
free-virtual-life-game

เฉลย! ขว้างบูเมอแรงในอวกาศ...มันจะกลับมาหาเราไหม?




"ผมต้องประหลาดใจและตื่นเต้นอย่างมากที่เห็นบูเมอแรงกลับมาเช่นเดียวกับบนโลก"

คำเฉลยจากทากาโอ โดอิ (Takao Doi) นักบินอวกาศจากองค์การอวกาศญี่ปุ่น (แจกซา) ผู้ทำการทดลองปาบูเมอแรงบนสถานีอวกาศนานาชาติระหว่างเวลาว่างในช่วงการ ปฏิบัติภารกิจต่อเติมสถานีอวกาศ เมื่อวันที่ 18 มี.ค.ที่ผ่านมา ทั้งนี้เนื่องจากเขาได้รับการร้องขอจากยาซุฮิโร โทกาอิ (Yasuhiro Togai) นักปาบูเมอแรงแชมป์โลกชาวญี่ปุ่นให้ทำการทดลองดังกล่าว อย่างไรก็ดีไม่มีคำอธิบายเพิ่มเติมจากผลการทดลองนั้นและแจกซาจะได้เผยแพร่ภาพวิดีโอการทดลองในภายหลัง

"ผู้จัดการวิทยาศาสตร์" จึงได้สอบถามไปยังผู้รู้หลายๆ คน ในเบื้องต้น ดร.ประเสริฐ เฉลิมการนนท์ นักวิจัยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ที่ดูแลการแข่งขันปาเครื่องบินกระดาษในงานสัปดาห์วิทยศาสตร์แห่งชาติร่วม 4 ปี อธิบายคร่าวๆ ว่า การที่บูเมอแรงหมุนกลับมาที่เดิมได้เพราะมีแรงลม ซึ่งการปาบูเมอแรงในสถานีอวกาศก็แสดงว่ายังอากาศแต่มีแรงโน้มถ่วงต่ำ

"การกลับมาของบูเมอแรงนั้นน่าจะเกิดจากการหมุนด้วยตัวเองและมีแรงลม ซึ่งการปาบนสถานีอวกาศน่าจะเคลื่อนที่กลับมาเหมือนเดิม แต่ก็ขึ้นอยู่กับระนาบการปาด้วย โดยบนโลกนั้นมีแนวระนาบที่ขนานกับพื้น ส่วนบนสถานีอวกาศน่าจะเคลื่อนที่กลับมาเหมือนกันแต่อาจจะมีระนาบการกลับที่ ต่างไป" ดร.ประเสริฐกล่าว

ด้าน ดร.พรรัตน์ วัฒนกสิวิชช์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อธิบายว่าปาบูเมอแรงแล้วกลับมาเพราะบูมเมอแรงใช้หลักการเดียวกับปีกเครื่อง บิน โดยปีกเครื่องบินนั้นมี 2 ด้านที่นูนและเรียบต่างกัน เมื่ออากาศเคลื่อนที่ผ่านด้านบนที่นูน โมเลกุลอากาศจะเคลื่อนที่เร็วกว่าปีกด้านล่างที่เรียบ ทำให้ด้านบนมีความหนาแน่นและความดันน้อยกว่าด้านล่างที่มีความเร็วน้อยกว่า และมีความหนาแน่นกับความดันของอากาศมากกว่า จึงเกิดแรงพยุงปีกให้ยกตัวขึ้น

"หลักการดังกล่าวคล้ายกับบูเมอแรงซึ่งหากต้องการให้บูมเมอแรงกลับมา ต้องปาในแนวตั้ง โดยตราบใดที่มีโมเลกุลอากาศบูเมอแรงก็จะเลี้ยวโค้ง ซึ่งในสถานีอวกาศนั้นบูเมอแรงได้รับความแตกต่างของความดันจากโมเลกุลอากาศ เหมือนกันบนโลกจึงเคลื่อนที่กลับมา"

"แต่ถ้าปาในที่เป็นสุญญากาศ เช่น บนดวงจันทร์ ก็จะเหมือนกันการขว้างก้อนหินที่จะเคลื่อนที่แนว "โปรเจกไทล์" (Projectile) หรือวิถีโค้งและตกลง ซึ่งแรงโน้มถ่วงที่น้อยกว่าก็จะทำให้บูเมอแรง ไปตกไกลกว่าบนโลก แต่ไม่เกิดการหมุนของบูเมอแรงเหมือนบนโลก"

ในส่วนของคอลัมน์ถาม-ตอบของนิตยสารนิวไซแอนทิสต์ (newscientist) นั้นอธิบายว่าบู เมอแรงก็เหมือนปีกเครื่องบินของด้านที่นำมาประกบดัน เมื่อขว้างในลักษณะที่เกือบเป็นแนวตั้งปีกด้านบนจะเคลื่อนที่ได้เร็วกว่า ด้านล่างจึงทำให้ปลายด้านหนึ่งกระดกขึ้นแล้วเลี้ยวกลับเช่นเดียวกับการโน้ม ตัวขณะเลี้ยวจักรยาน

ส่วนอีกคำตอบอธิบายว่าการกลับมาของบูเมอแรงนั้นอาศัยการทำงานร่วมกัน ของหลักอากาศพลศาสตร์และปรากฏการณ์รักษาการทรงตัว (gyroscopic effect) โดยเมื่อบูเมอแรงหมุนปีกทั้งสองหรือมากกว่าที่ระนาบแนวตั้งเอียง 20 องศาจะหมุนควงอย่างรวดเร็ว ซึ่งทั่วๆ ไปประมาณ 10 รอบต่อวินาที ปีก ด้านบนสุดจะไปในทิศทางเดียวกับการเคลื่อนที่และหมุนผ่านอากาศเร็วกว่าปีก ด้านล่าง ดังนั้น ปีกที่เคลื่อนที่เร็วสุดจะยกปีกที่เคลื่อนที่ช้ากว่าขึ้น แรงทั้งหมดจะพุ่งไปทิศทางหมุนกลับ

กลับมาดูที่ผู้อ่านของผู้จัดการวิทยาศาสตร์กันบ้าง มีหลายความเห็นทีเดียวที่คาดเดาผลที่เกิดขึ้นได้น่าสนใจ อาทิ ความเห็นของ คุณ Hongo ที่ทายว่าถ้าขว้างบูเมอแรงในสถานีอวกาศมันจะวนกลับมาเพราะในห้องสถานีมี "ออกซิเจน" (สังเกตจากนักบินอวกาศไม่ได้ใส่เครื่องช่วยหายใจ) ซึ่งหนาแน่นและมีมวลพอที่จะสร้างแรงเสียดทาน

แต่ถ้า ขว้างบูเมอแรงนอกสถานีอวกาศมันจะไม่วนกลับเพราะนอกสถานีอวกาศไม่มีมวลสสาร ที่พอจะสร้างแรงเสียดทานกับบูมเมอแรงจนทำให้มันเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนที่

หรือบางความเห็นก็อธิบายว่าปัจจัยที่ทำให้บูเมอแรงกลับมาได้ก็คือ "แรงเสียดทานของอากาศ" ส่วน "แรงดึงดูดหรือแรงโน้มถ่วง" น่าจะเป็นแค่แรงที่ทำให้บูเมอแรง ลดเพดานบินลงต่ำบนพื้นโลกเท่านั้น ซึ่งถ้านำไปขว้างในยานอวกาศ อาจจะบินวนไปวนมาจนกว่าแรงเสียดทานจะหักลบกับแรงที่ขว้างไป (ถ้าไม่มีอะไรขวาง)

แต่ถ้าขว้างในอวกาศที่เป็นสุญญากาศคงไปถึงสุดขอบจักรวาล หากไม่เจอแรงดึงดูดเข้าไปเฉียดดาวอื่นเสียก่อน ก็นับว่าเป็นอีกความคิดที่น่าสนใจซึ่งเราคงต้องมาขบคิดกันต่อว่าแรงของ มนุษย์จะสามารถปาบูเมอแรงไปสุดขอบจักรวาลได้หรือไม่

ขณะที่บางความเห็นก็อธิบายว่าด้วยรูปร่างของบูเมอแรงจะทำให้เกิดการ หมุนอย่างแน่นอน เนื่องจากการขว้างได้ส่งกำลังไปยังส่วนปลายบูเมอแรงมากกว่าส่วนอื่นที่เกิด แรงเฉื่อยของการหมุน (rotational inertia) และไม่เกี่ยวกับอากาศหรือแรงโน้มถ่วงของโลก โดยแรงต้านอากาศ (drag) น่าจะทำให้มันหยุดหมุนมากกว่าที่จะหมุน แต่ไม่ตอบว่าบูเมอแรงจะกลับมาหรือไม่เพราะมีปัจจัยการเคลื่อนที่ของบูเมอแรง เยอะมาก

"ใน กรณีนี้ดูแล้วรูปทรงบูเมอแรงเป็นแบบแบน ดังนั้นเวลาหมุนจะไม่เกิดแรงยกดังที่เกิดกับปีกเครื่องบิน หรือบูเมอแรงที่มีรูปทรงปีกเหมือนปีกเครื่องบิน เพราะในอวกาศไม่จำเป็นต้องพึ่งแรงยกในการต้านแรงโน้มถ่วงของโลก รูปทรงบูเมอแรงก็เป็นแบบ 3 ปีกด้วยอีกต่างหาก ยิ่งงง แต่ผมเดาว่ามันจะกลับนะครับ คิดว่าการเคลื่อนที่ของวัตถุที่หมุนรอบจุดศูนย์กลางมวลของตัวเองในแนวระนาบ เดียวกันน่าจะมีผลต่อ trajectory ของวัตถุนั้น"

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


free-online-adventure-single-player-rpg
fighting
miniclip
download-driving
free-web
puzzle
java-for-mobile-phones
download-full
free-printable-baby-shower
free-java-for-mobiles

โอกาสพบมนุษย์ต่างดาวมีมากแค่ไหน นักคณิตศาสตร์มีคำตอบ

มนุษย์ต่างดาวใจดีในภาพยนตร์เรื่อง "E.T."

คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
ภาพ ถ่ายกาแล็กซี M74 ซึ่งไม่แน่ว่าอาจมีสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาตั้งถิ่นฐานอยู่บนดาวเคราะห์ดวง ใดดวงหนึ่งในกาแล็กซีนี้ก็เป็นได้ (NASA, ESA, and the Hubble Heritage (STScI/AURA)-ESA/Hubble Collaboration)

ความน่าจะเป็นที่มนุษย์เราจะค้นหามนุษย์ต่างดาวเจอนั้นมีมากน้อยแค่ไหนกันนะ

หน้าตาของมนุษย์ต่างดาวในเรื่อง "เอเลียน"

ไซน์เดลี/บีบีซีนิวส์ - สงสัยและค้นหากันมานาน แต่ก็ยังไม่มีใครได้เจอะเจอกับมนุษย์ต่างดาว หรือสิ่งมีชีวิตอันทรงภูมิปัญญาที่อยู่นอกโลกกันสักที เอ! แล้วเราจะมีโอกาสพบเพื่อนต่างดาวบ้างไหมหนอ? แล้วจะเป็นไปได้มากน้อยแค่ไหนกันล่ะ? คำถามเหล่านี้มีคำตอบอยู่ในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่คิดค้นและพัฒนาโดยนัก วิทยาศาสตร์เมืองผู้ดี

จะมีใครอยู่ข้างนอกนั่นไหมนะ? ข้อสงสัยของใครหลายๆ คนที่มักบังเกิดขึ้นเสมอเมื่อมองออกไปในท้องฟ้ากว้างยามกลางคืนที่ดารดาษไป ด้วยหมู่ดาว และนั่นก็เป็นคำถามที่จุดประกายให้ศาสตราจารย์แอนดรูว์ วัตสัน (Prof Andrew Watson) จากคณะวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยอีสต์แองเกลีย (University of East Anglia) ประเทศอังกฤษ สร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อคำนวณหาโอกาสและความเป็นไปได้ในการค้นหา สิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาที่อยู่นอกโลก และตีพิมพ์ในวารสารแอสโทรไบโอโลจี (Astrobiology)

ศ.วัตสัน ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยต่างๆ บนโลกที่เอื้อต่อการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิต และพัฒนาเป็นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่สามารถคิดคำนวณความน่าจะเป็นในการเกิด วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตทรงปัญญา

เขา ใช้เงื่อนไขสำคัญบนโลก ที่เป็นสิ่งกำหนดการวิวัฒน์ของสิ่งมีชีวิตในการทำนายความเป็นไปได้ ที่จะเกิดเหตุการณ์ลักษณะเดียวกันนี้บนดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ ที่คล้ายกับโลก ซึ่งการหล่อหลอมของสภาวะที่เหมาะสม สำหรับสิ่งมีชีวิตที่กำลังจะอุบัติขึ้นบนโลกหรือดาวเคราะห์ดวงใดๆ จะเสร็จสิ้นลงเมื่อดวงอาทิตย์ส่องสว่าง

แบบจำลองดวงอาทิตย์บ่งบอกว่าเมื่อแสงสว่างของดวงอาทิตย์มากขึ้น ส่งผลสู่แบบจำลองของอุณหภูมิก็จะให้ข้อมูลที่ทำนายได้ว่า ยุคสมัยของสิ่งมีชีวิตกำกำลังจะเริ่มต้นขึ้นในอีกประมาณพันล้านปีข้างหน้า ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่สั้นมาก หากเทียบกับช่วงเวลา 4 พันล้านปีที่ผ่านมา นับแต่ดาวเคราะห์ดวงนั้นถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก

"เขตชีวมณฑล (biosphere) บนโลกของเราขณะนี้ก็ถือว่ามีอายุเก่าแก่ประมาณหนึ่งแล้ว ซึ่งก็ได้บ่งบอกนัยสำคัญบางอย่างที่ว่าน่าจะเป็นไปได้ว่าอาจจะมีสิ่งมีชีวิต ที่มีความซับซ้อนหรือปัญญาอันชาญฉลาดกำลังรอวันอุบัติขึ้นบนดาวเคราะห์ดวงใด ดวงหนึ่ง" ศ.วัตสันเผย

"ณ เวลานี้ โลกก็เป็นเพียงตัวอย่างเดียวเท่านั้นที่จะให้เราเรียนรู้เรื่องราวของดาว เคราะห์อันเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต ถ้าเราศึกษาลึกลงไปว่าดาวเคราะห์ดวงนี้มีสิ่งใดเอื้อให้สิ่งมีชีวิตอาศัย อยู่ได้ รวมทั้งวิวัฒนาการของพวกเราที่มีมาก่อนหน้านี้"

"และตัวอย่างเดียวของเรานี้แหละ ที่เราจะคาดคะเนต่อไปได้ว่า การวิวัฒนาการจากสิ่งมีชีวิตอย่างง่ายๆ จนกลายเป็นชีวิตที่ซับซ้อน และพัฒนาไปสู่สิ่งมีชีวิตอันชาญฉลาดได้อย่างไร อย่างไรก็ดี ขณะนี้เราเชื่อกันว่าพวกเราวิวัฒนาการขึ้นมาในยุคท้ายๆ ของช่วงเวลาแห่งการดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตบนโลก ซึ่งเป็นไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ด้วยซ้ำ และในความเป็นจริงแล้วช่วงเวลาที่เกิดเหตุการณ์สำคัญต่างๆ นั้นก็สอดคล้องกันอย่างเหมาะเจาะ" ศ.วัตสันกล่าว

ศ.วัตสัน เสนอว่า จำนวนขั้นของการวิวัฒนาการที่จำเป็นสำหรับการสร้างสรรค์สิ่งมีชีวิตอันชาญ ฉลาดอย่างเช่นมนุษย์เรานั้นมี 4 ขั้นด้วยกัน คือ 1.นับตั้งแต่การปรากฏของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว 2.ต่อไปเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ 3.พัฒนาเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีอวัยวะซับซ้อนมากขึ้น และ 4.จนกระทั่งกลายมาเป็นสิ่งมีชีวิตที่ฉลาดล้ำและมีภาษาพูดสำหรับสื่อสารให้ เข้าใจกัน

"สิ่งมีชีวิตที่ซับซ้อนนั้นก็จะมีรูปร่างแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตอย่าง ง่ายที่สุด ด้วยการวิวัฒนาการอย่างเป็นขั้นเป็นตอน ทำให้ความความซับซ้อนมากขึ้นและหลงเหลือสิ่งที่เป็นธรรมดาสามัญน้อยลง ส่วนสิ่งมีชีวิตทรงภูมิปัญญาก็จะต้องมีวิวัฒนาการมากกว่านั้น และคงเหลือส่วนที่ธรรมดาๆ น้อยลงไปอีก" ศ.วัตสัน อธิบาย

ทั้งนี้แบบจำลองของ ศ.วัตสัน บ่งชี้ว่า เฉพาะในกาแลกซีทางช้างเผือกที่เราอยู่ มีดวงดาวมากถึง 100,000,000,000 ดวง (หนึ่งแสนล้านดวง) มีดวงดาวคล้ายโลกอีหลายพันดวง แต่ ด้วย 4 ขั้นของวิวัฒนาการที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ความน่าจะเป็นสูงสุดที่อาจมีวิวัฒนาการในแต่ละขั้นเกิดขึ้นไม่น่าเกิน 10% ดังนั้นโอกาสที่จะพบสิ่งมีชีวิตทรงปัญญาจึงน้อยมากๆ น้อยกว่า 0.01% ในรอบ 4 พันล้านปีเลยทีเดียว

อย่างไรก็ดี วิวัฒนาการแต่ละขั้นนั้นมีส่วนสัมพันธ์กัน และจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อขั้นตอนก่อนหน้านั้นได้อุบัติขึ้นแล้ว ซึ่งก็มีแนวโน้มเกิดขึ้นได้เท่าๆ กันในช่วงเวลาที่ผ่านมาของประวัติศาสตร์โลก และยังสอดคล้องกันกับช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงหลักๆ ที่เกิดขึ้นกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตบนโลก.

ขอบคุณแหล่งที่มา/http://www.manager.co.th


free-online-pokemon
play-free-computer
play-free-driving
birthday-party
dora-the-explorer
sesame-street-online-toddler
pc-game-hints-cheats
free-firework
free-hidden-object
romantic-for-two

Hello

vichaijande